วันเสาร์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556




ปราสาทเขาพระวิหาร




ปราสาทพระวิหาร (​เขมร: ប្រាសាទ​ព្រះវិហារเปรี๊ยะ วิเฮียร์ - วิหารศักดิ์สิทธิ์อังกฤษ: Temple of Preah Vihear) เป็นปราสาทหินตามแบบศาสนาฮินดูที่ตั้งอยู่บริเวณเทือกเขาพนมดงรัก (ภาษาเขมรว่า พนมดงเร็ก หมายถึง ภูเขาไม้คาน) สูงจากระดับทะเลปานกลาง 657 เมตร ที่ตั้งของศาสนสถานแห่งนี้รู้จักกันในนาม พนมพระวิหาร หมายถึง บรรพตแห่งศาสนสถานอันศักดิ์สิทธิ์ อยู่ใกล้อุทยานแห่งชาติเขาพระวิหาร อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ ซึ่งเคยเป็นทางขึ้นสู่ปราสาทที่สะดวกที่สุดปราสาทพระวิหารมีสถาปัตยกรรมแบบเขมร สร้างตามแนวเหนือใต้ซึ่งผิดแปลกไปจากปราสาทขอมส่วนใหญ่ ไทยและกัมพูชามีประวัติพิพาทเหนือตัวปราสาทเป็นเวลานานแล้ว ใน พ.ศ. 2505 ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศพิพากษาให้กัมพูชามีอธิปไตยเหนือปราสาท (ดู คดีปราสาทพระวิหาร พ.ศ. 2505) และวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกในประเทศกัมพูชา
     ปราสาทเขาพระวิหาร เป็นโบราณสถานที่มีความงดงาม โดเด่นอยู่เหนือเทือกเขาพนมดงรัก ซึ่งกั้นพรมแดน ระหว่าประเทศไทยกับประเทศกัมพูชามีความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 657 เมตร อยู่ในเขตการปกครองของอำเภอจอมกระสาน จังหวัดพระวิหาร ประเทศกัมพูชาเดิมปราสาทเขาพระวิหารอยู่ในเขตการปกครองของประเทศไทย ขึ้นอยู่กับบ้านภูมิซรอล ต.เสาธงชัย อ.กันทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษ (ค.ศ.1899,ร.ศ.-118 เมื่อ พ.ศ. 2442) พระเจ้าน้องยาเธอกรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ได้ทรงค้นพบ พระองค์ได้จารึก ร.ศ. และพระนามไว้ที่บริเวณชะง่อนผาเป้ยตาดีว่า 118 สรรพสิทธิ จากนั้นอีก 60 ปีต่อมา ประเทสกัมพูชา (นำโดยสมเด็จเจ้านโรดมสีหนุ) ได้ยื่นฟ้องต่อศาลโลก เพื่อเรียกร้องอำนาจอธิปไตยเหนือปราวาทเขาพระวิหารคืน (ยื่นฟ้องทั้งมหด 73 ครั้ง) ต่อมาศาลโลกได้ตัดสินให้อธิปไตยเหนือปราสาทเขาพระวิหารเป็นของประเทศกัมพูชาด้วยคะแนน 9 ต่อ 3 เสียง เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2505 นับเป็นการเสียดินแดนครั้งสุดท้ายของประเทศไทย โดยบริเวณดังกล่าวมีเนื้อที่ประมาณ 150 ไร่
ผลการตัดสินของศาลโลก มีข้อกำหนด 3 ประการ คือ

   1) ให้คืนเนื้อที่ประมาณ 150 ไร่
   2ให้คืนวัตถุโบราณจำนวน 50 ชิ้น
   3) ให้ถอนทหารและตำรวจออกจากพื้นที่





ลักษณะสำคัญของปราสาทเขาพระวิหาร
ผลการตัดสินคดีปราสาทเขาพระวิหาร

        บันไดดินด้านหน้าของปราสาท บันไดดินด้านหน้าเป็นทางเดิน ขึ้นลงขนาดใหญ่ อยู่ทางทิศเหนือของตัวปราสาท ลาดตามไหล่เขา บางชั้น สกัดหินลงไปในภูเขา มีขนาดกว้าง 8 เมตร ยาว 75.50 เมตร มีจำนวน162 ขั้น สองข้างบันไดมีฐานสี่เหลี่ยมตั้งเป็นกระพัก (กระพักแปลว่า ไหล่เขาเป็นชั้นพอพักได้) ขนาดใหญ่เรียงรายขึ้นไป ใช้สำหรับตั้งรูปสิงห์ทวารบาล (ทะ-วา-ละ-บาน) เพื่อเฝ้าดูแลรักษาเส้นทาง
ปราสาทแห่งนี้มีชื่อเรียกเก่าสุดว่า ภวาลัย ในรายงานของกรมวิชาการ และมีชื่ออื่น ได้แก่ ศรีศิขรีศวรวีราศรม และตปัสวีนทราศรม เมื่อ พ.ศ. 2442 พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชุมพลสมโภช กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ได้เสด็จไปยังปราสาทแห่งนี้ และทรงขนานนามว่า "ปราสาทพรหมวิหาร" ซึ่งต่อมาเรียกกันทั่วไปว่า "ปราสาทพระวิหาร" ส่วนนามของปราสาทพระวิหารตามที่ปรากฏในศิลาจารึกคือ "ศีรศิขเรศวร" แปลว่า ภูเขาแห่งพระอิศวร ซึ่งเกิดจากการสมาสกันของคำว่า "ศิขร" (ภูเขา) และ "อิศวร"
บางครั้ง ชาวกัมพูชาเรียกปราสาทว่า "พนมพระวิหาร" (ភ្នំព្រះវិហារ) ขณะที่ชาวไทยมักเรียกว่า "เขาพระวิหาร" ราว พ.ศ. 2551 คำว่า "เขา" ได้ถูกละไว้ในชื่อเพื่อแสดงถึงความแตกต่างระหว่างตัวปราสาทและเนินเขาซึ่งปราสาทสร้างขึ้น ซึ่งจำแนกได้เป็น "เขาพระวิหาร" และ "ปราสาทพระวิหาร"


ศาลโลกรับตีความคำร้องของกัมพูชา และมีอำนาจที่จะตีความคำพิพากษา ปี 2505
ศาลปฏิเสธที่จะตัดสินตามคำขอของกัมพูชา ที่ให้รับรองสถานะของแผนที่ภาคผนวก 1 ในฐานะเครื่องกำหนดเส้นเขตแดน เพราะอยู่นอกเหนือขอบเขตคำพิพากษาเดิม และจะพิจารณาคำพิพากษาปี 2505 เฉพาะบริเวณปราสาทพระวิหารเท่านั้น
ศาลบอกว่าการขีดเส้นตามมติ ครม. ปี 2505 ไม่ถูกต้องตามคำพิพากษาของศาล เพราะไม่ได้กำหนดตามแผนที่ภาคผวนก 1 แต่กำหนดตามสันปันน้ำ
 ศาลโลกมีมติเอกฉันท์วินิจฉัยว่ากัมพูชามีอธิปไตยในดินแดนทั้งหมดของปราสาทพระวิหาร และประเทศไทยต้องถอนทหารตำรวจจากเขตแดนดังกล่าว และให้ไปเจรจากันเอง 
สรุปศาลไม่ได้ตีความเกินขอบเขตคำพิพากษาเดิม 2505 / พิพากษาเฉพาะตัวปราสาทไม่แตะพื้นที่ 4.6 ตร.กม. สั่งย้อนดูวรรค 98 ของคำพิพากษาเดิม
ท่านทูตวีระชัย แถลงศาลโลกไม่ได้ให้พื้นที่ 4.6 ตารางกิโลเมตร และภูมะเขือ แก่กัมพูชา แต่จะมีพื้นที่เล็กมากๆ ซึ่งกำลังคำนวณอยู่ 


นำเสนอข่าวโดยทีมงาน Sanook.com
11 พฤศจิกายน 2556 เป็นอีกหนึ่งวันประวัติศาสตร์ที่คนไทยทั้งประเทศต้องจดจำ เมื่อศาลโลกนัดตัดสินคดีกัมพูชาขอตีความคำพิพากษาคดีปราสาทพระวิหาร ที่ศาลโลก กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ ในเวลา 16.00 น. (ตามเวลาประเทศไทย)
รายงานสดคำตัดสินคดีปราสาท 16.00 น. ผู้พิพากษาศาลโลกขึ้นนั่งบัลลังก์ตัดสินคดีพระวิหารที่กรุงเฮก เนเธอร์แลนด์
16.12 น. ผู้พิพากษาศาลโลกเริ่มด้วยการสรุปเกี่ยวกับคำพิพากษาเมื่อปี 2505 เกี่ยวกับปราสาทพระวิหาร ตามด้วยคำฟ้องของกัมพูชาที่ให้ยื่นขอตีความใหม่
16.19 น. ศาลโลกรับตีความคำร้องของกัมพูชา และมีอำนาจที่จะตีความคำพิพากษา ปี 2505
16.24 น. ศาลปฏิเสธที่จะตัดสินตามคำขอของกัมพูชา ที่ให้รับรองสถานะของแผนที่ภาคผนวก 1 ในฐานะเครื่องกำหนดเส้นเขตแดน เพราะอยู่นอกเหนือขอบเขตคำพิพากษาเดิม และจะพิจารณาคำพิพากษาปี 2505 เฉพาะบริเวณปราสาทพระวิหารเท่านั้น
16.38 น. ศาลบอกว่าการขีดเส้นตามมติ ครม. ปี 2505 ไม่ถูกต้องตามคำพิพากษาของศาล เพราะไม่ได้กำหนดตามแผนที่ภาคผวนก 1 แต่กำหนดตามสันปันน้ำ
16.55 น. ศาลโลกมีมติเอกฉันท์วินิจฉัยว่ากัมพูชามีอธิปไตยในดินแดนทั้งหมดของปราสาทพระวิหาร และประเทศไทยต้องถอนทหารตำรวจจากเขตแดนดังกล่าว และให้ไปเจรจากันเอง  
สรุปศาลไม่ได้ตีความเกินขอบเขตคำพิพากษาเดิม 2505 / พิพากษาเฉพาะตัวปราสาทไม่แตะพื้นที่ 4.6 ตร.กม. สั่งย้อนดูวรรค 98 ของคำพิพากษาเดิม 
ท่านทูตวีระชัย แถลงศาลโลกไม่ได้ให้พื้นที่ 4.6 ตารางกิโลเมตร และภูมะเขือ แก่กัมพูชา แต่จะมีพื้นที่เล็กมากๆ ซึ่งกำลังคำนวณอยู่ 

ย้อนรอย"คดีพระวิหาร" ก่อนถึงวันพิพากษา
คดีที่เรียกกันสั้นๆ ว่า "คดีพระวิหาร" ซึ่งศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (ศาลโลก) กำหนดมีคำพิพากษาในวันที่ 11 พฤศจิกายนนี้นั้น มีที่มาจากการที่ทางการกัมพูชายื่นขอให้ศาลโลกตีความคำพิพากษาคดีปราสาทพระวิหารปี 2505 และขอให้ศาลโลกออกคำสั่งมาตรการชั่วคราว เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2554
การขอตีความดังกล่าวนั้น ทางฝ่ายกัมพูชาขอให้ศาลตีความคำพิพากษาเดิมว่า คำพิพากษาเดิมดังกล่าวได้ตัดสินเรื่องเขตแดนไว้หรือไม่ ซึ่งกัมพูชาเห็นว่าศาลได้ตัดสินเรื่องดังกล่าวไว้แล้ว โดยตัดสินให้เป็นไปตามแผนที่ "ภาคผนวก 1" ซึ่งทางฝ่ายกัมพูชาอ้างว่าเป็น "แผนที่ประกอบในคำพิพากษา" เมื่อปี 2505 ดังกล่าว ในขณะที่ไทยยืนยันว่าเป็นเพียง "แผนที่ประกอบคำฟ้อง" ต่อศาลเท่านั้นเอง
เพื่อต่อสู้คดีดังกล่าวนี้ คณะทำงานที่ประกอบด้วยทีมผู้เชี่ยวชาญทางกฎหมายและเจ้าหน้าที่ระดับสูงของกระทรวงการต่างประเทศ นำโดย นายวีรชัย พลาศรัย เอกอัครราชทูตไทย ประจำกรุงเฮก ได้กำหนดแนวทางเพื่อต่อสู้คดีไว้หลักๆ 4 ประการดังต่อไปนี้
1.ศาลไม่มีอำนาจในการตีความ เนื่องจากคู่กรณีไม่ได้มีข้อพิพาทกันเกี่ยวกับความหมายและขอบเขตของคำพิพากษาปี 2505 ฝ่ายไทยเห็นว่า คำพิพากษาเดิมดังกล่าวนั้นมีความชัดเจนอยู่ในตัวแล้ว ในขณะเดียวกันทั้งไทยและกัมพูชา ต่างก็เห็นตรงกันในสารัตถะของคำพิพากษาดังกล่าวมาตลอดตั้งแต่ปี 2505 แต่ทางการกัมพูชาเพิ่งจะเปลี่ยนแปลงท่าที ไม่เห็นด้วยขึ้นมาเมื่อปี 2550 นี่เอง เพราะต้องการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกเพียงฝ่ายเดียว ทั้งๆ ที่ไทยเสนอหลายครั้งแล้วให้ขึ้นทะเบียนร่วมกัน
2.เมื่อคำพิพากษามีความชัดเจน และไทยซึ่งแม้จะไม่ยอมรับ แต่ก็ได้ปฏิบัติตามคำพิพากษา ปี 2505 ไปครบถ้วนแล้วทุกประการ การปฏิบัติตามคำพิพากษาดังกล่าวก็เป็นที่ยอมรับของฝ่ายกัมพูชาอย่างเป็นทางการแล้วเช่นกัน
ไทยได้ปฏิบัติตามคำพิพากษาดังกล่าวแล้ว ด้วยการถอนกำลังตำรวจ ทหาร และเจ้าหน้าที่ออกจากปราสาทพระวิหาร และบริเวณใกล้เคียงปราสาท ตามขอบเขตซึ่งกำหนดโดยมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 10 กรกฎาคม 2505 ซึ่งเป็นขอบเขตที่สอดคล้องกับขอบเขตของพื้นที่พิพาทในคดีนี้แต่เดิมตามความเข้าใจทั้งของคู่ความและของศาล
3.คำขอให้ตีความของฝ่ายกัมพูชานั้น เป็นคำขอตีความในส่วนที่เป็น "เหตุผล" ประกอบคำพิพากษา ไม่ใช่ในส่วนที่เป็น "คำตัดสิน" โดยเป็นการขอให้ศาลตัดสินชี้ขาดในสิ่งที่ศาลเคยปฏิเสธที่จะตัดสินชี้ขาดไปแล้วอย่างชัดแจ้งในปี 2505 ซึ่งได้แก่เรื่อง "เส้นเขตแดน" และเรื่อง "สถานะทางกฎหมายของแผนที่ภาคผนวก 1"
ดังนั้น คำขอตีความของกัมพูชา จึงไม่ใช่เป็นคำขอตีความ แต่เป็นการอุทธรณ์คดีที่แฝงมาในรูปของการขอตีความ ซึ่งขัดกับธรรมนูญของศาลและขัดกับแนวคำพิพากษาของศาลในเรื่องของการตีความ
4.ฝ่ายไทยยืนยันว่า คำว่า "บริเวณใกล้เคียงปราสาท" ที่ปรากฏอยู่ในคำพิพากษาปี 2505 นั้น เป็นคนละเรื่องกันกับคำว่า "ดินแดนกัมพูชา" ดังนั้น การกำหนดพื้นที่ "บริเวณใกล้เคียงปราสาท" ตามคำพิพากษาเดิม จึงไม่ใช่การกำหนดเส้นเขตแดน และขอบเขตของพื้นที่ "บริเวณใกล้เคียงปราสาท" ดังกล่าวก็ไม่จำเป็นต้องมีขอบเขตเป็นเส้นเขตแดน
นอกจากนั้น ยังชี้ให้ศาลเห็นด้วยว่า แผนที่ซึ่งฝ่ายกัมพูชาใช้ในคดีเดิม เมื่อปี 2505 กับแผนที่ซึ่งนำมาใช้อ้างว่าเป็นแผนที่ในภาคผนวก 1 ในการตีความครั้งนี้ เป็นแผนที่คนละแผนที่กัน เป็นการเลือกหยิบเอามาใช้ตามอำเภอใจ
ความแตกต่างระหว่างแผนที่เดิมของฝ่ายกัมพูชากับการกำหนดขอบเขตพื้นที่ "ใกล้เคียงปราสาท" ของไทยนั้น แตกต่างกัน "เพียงไม่กี่เมตร" ตามความเห็นของฝ่ายกัมพูชาเอง แต่แผนที่ภาคผนวก 1 ที่นำมาอ้างใหม่ในศาลวันนี้ กลับมีพื้นที่ที่แตกต่างกันออกไปมากถึง 4.5 ตารางกิโลเมตร
ด้วยเหตุผลตามข้อโต้แย้งดังกล่าวนี้ ฝ่ายไทยขอให้ศาลพิพากษาและชี้ขาดว่า
1.คำร้องขอให้ศาลตีความของฝ่ายกัมพูชานั้น ไม่เข้าเงื่อนไขที่ระบุไว้ และด้วยเหตุนี้ศาลจึงไม่มีอำนาจในการรับพิจารณาคำร้องดังกล่าว และไม่มีอำนาจที่จะตอบคำร้องดังกล่าวนั้น
2.ศาลไม่มีเหตุผลที่จะให้เป็นไปตามคำร้องขอของฝ่ายกัมพูชา และไม่มีเหตุผลที่จะตีความคำพิพากษาเดิมเมื่อปี 2505
3.ขอให้ศาลชี้ขาดอย่างเป็นทางการว่า คำพิพากษาเดิมในปี 2505 นั้น ไม่ได้เป็นการวินิจฉัยเส้นเขตแดนระหว่างราชอาณาจักรไทยและกัมพูชา โดยมีผลผูกพันและไม่ได้กำหนดขอบเขตของบริเวณใกล้เคียงปราสาทเอาไว้ในคำพิพากษาดังกล่าว
ส่วนศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ที่เป็นศาลสูงสุดของสหประชาชาติ จะพิพากษาคดีนี้ว่าอย่างไร
คนไทยทั้งประเทศต่างเฝ้าติดตามกันในวันที่ 11 พฤศจิกายนนี้นั่นเอง...

ถ่ายทอดสดศาลโลกพิพากษาคดีเขาพระวิหาร


                               http://www.youtube.com/watch?v=yUTbEctIZQk